คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน (ระดับประถมศึกษา)

วิชา วิทยาศาสตร์  (ว 11101)                                  กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                              เวลา    80   ชั่วโมง

                ศึกษา วิเคราะห์  ความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต  ลักษณะและหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืชและสัตว์  ลักษณะและหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืชและสัตว์  ลักษณะหน้าที่และความสำคัญของอวัยวะภายนอกของมนุษย์ตลอดจนการดูแลรักษาสุขภาพ  ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น  โดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์  ลักษณะที่ปรากฏหรือสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำของเล่นของใช้ในชีวิตประจำวัน  การดึงหรือการผลักวัตถุ  องค์ประกอบและสมบัติทางกายภาพของดินในท้องถิ่น ในท้องฟ้ามีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดวงดาว
                โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล  บันทึก  จัดกลุ่มข้อมูลและอภิปราย  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
                เพื่อให้เกิดคุณลักษณะการเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  คุณธรรม  จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

รหัสตัวชี้วัด
มาตรฐาน  1.1                 ป.1/1      ป.1/2      ป.1/3     
มาตรฐาน  1.2                 ป.1/1                     
มาตรฐาน  3.1                 ป.1/1      ป.1/2                     
มาตรฐาน  4.1                 ป.1/1     
มาตรฐาน  6.1                 ป.1/1     
มาตรฐาน  7.1                 ป.1/1     
มาตรฐาน  8.1                 ป.1/1      ป.1/2   ป.1/3    ป.1/4   ป.1/5   ป.1/6   ป.1/7              

รวมทั้งหมด  16  ตัวชี้วัด  
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน (ระดับประถมศึกษา)

วิชา วิทยาศาสตร์  (ว 12101)                                กลุ่มสาระการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                            เวลา    80   ชั่วโมง

ศึกษา วิเคราะห์ น้ำ  แสง อาหาร อากาศ เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของพืช สัตว์  ร่างกายของมนุษย์ สามารถตอบสนองต่อแสง  อุณหภูมิและการสัมผัส  ปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของมนุษย์  ประโยชน์ของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น สมบัติของวัสดุที่นำมาทำของเล่นของใช้ไปใช้ในชีวิตประวัน  ใช้วัสดุและสิ่งของต่างๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย  แรงที่เกิดจากแม่เหล็ก  การนำแม่เหล็กมาใช้ประโยชน์  แรงไฟฟ้าที่เกิดจากการถูวัตถุบางชนิด  ไฟฟ้าเป็นพลังงาน  เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น  ประเภทของดินโดยใช้สมบัติทางกายภาพเป็นเกณฑ์ ความสำคัญของดวงอาทิตย์
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  สืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล  บันทึกจัดกลุ่มข้อมูลและอภิปรายเพื่อให้เกิดคามรู้  ความคิดความเข้าใจและการแก้ปัญหา
เพื่อให้เกิดคุณลักษณะการเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

รหัสตัวชี้วัด
มาตรฐาน  1.1                 ป.2/1      ป.2/2    ป.2/3      ป.2/4     ป.2/5
มาตรฐาน  1.2                 ป.2/1                     
มาตรฐาน  3.1                 ป.2/1      ป.2/2                   
มาตรฐาน  4.1                 ป.2/1      ป.2/2    ป.2/3
มาตรฐาน  5/1                 ป.2/1      ป.2/2
มาตรฐาน  6.1                 ป.2/1     
มาตรฐาน  7.1                 ป.2/1     
มาตรฐาน  8.1                 ป.2/1      ป.2/2    ป.2/3    ป.2/4     ป.2/5      ป.2/6      ป.2/7      ป.2/8

รวมทั้งหมด     23  ตัวชี้วัด
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน (ระดับประถมศึกษา)

วิชา วิทยาศาสตร์  (ว 13101)                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้    วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                              เวลา    80   ชั่วโมง

ศึกษา วิเคราะห์ ลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว     ลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูก การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม  สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วและที่ดำรงพันธุ์มาถึงปัจจุบันสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  ทรัพยากรธรรมชาติการใช้ทรัพยากร-ธรรมชาติในท้องถิ่นและที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม  การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด  คุ้มค่า  และการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ  ชนิดและสมบัติของวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของของเล่น ของใช้  การใช้ประโยชน์ของวัสดุแต่ละชนิดผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวัสดุเมื่อถูกแรงกระทำ  หรือทำให้ร้อนขึ้นหรือทำให้เย็นลง  ประโยชน์หรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของวัสดุ  ผลของการออกแรงที่กระทำต่อวัตถุ  การตกของวัตถุสู่พื้นโลก   แรงที่โลกดึงดูดวัตถุและ แหล่งพลังงานธรรมชาติ ที่ใช้ผลิตไฟฟ้า  ความสำคัญของพลังงานไฟฟ้า วิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย  สมบัติทางกายภาพของน้ำ  จากแหล่งน้ำในท้องถิ่น   ส่วนประกอบของอากาศ และ ความสำคัญของอากาศ   การเคลื่อนที่ของอากาศที่มีผลจากความแตกต่างของอุณหภูมิ  การขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์การเกิดกลางวันกลางคืนและการกำหนดทิศ                                         
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  การสืบค้นข้อมูล  บันทึก  จัดกลุ่มข้อมูล  และการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถนำเสนอ  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจ 
เพื่อให้เกิดคุณลักษณะเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์  ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  คุณธรรมจริยธรรม  และค่านิยมที่เหมาะสม

รหัสตัวชี้วัด
มาตรฐาน  ว 1.2                                 ป.3/1    ป.3/2   ป.3/3  ป.3/4    
มาตรฐาน  ว 2.1                                 ป.3/1    
มาตรฐาน  ว 2.2                                 ป.3/1    ป.3/2   ป.3/3
มาตรฐาน  3.1                                 ป.3/1    ป.3/2    
มาตรฐาน  ว 3.2                  ป.3/1   ป.3/2   
มาตรฐาน  ว 4.1                 ป.3/1   ป.3/2     
มาตรฐาน  ว 5.1                 ป.3/1    ป.3/2     
มาตรฐาน  ว 6.1                                 ป.3/1     ป.3/2   ป.3/3     
มาตรฐาน  7.1                                 ป.3/1     
มาตรฐาน  8.1                                 ป.3/1     ป.3/2     ป.3/3     ป.3/4     ป.3/5     ป.3/6     ป.3/7     ป.3/8

รวมทั้งหมด  28  ตัวชี้วัด
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน (ระดับประถมศึกษา)

วิชา วิทยาศาสตร์  (ว 14101)                                  กลุ่มสาระการเรียนรู้   วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                              เวลา    80   ชั่วโมง

                ศึกษา วิเคราะห์  หน้าที่ของท่อลำเลียง  ปากใบของพืช  ปัจจัยในการเจริญเติบโตและการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช  การตอบสนองของพืชต่อแสง  เสียง  การสัมผัส  พฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อแสง  อุณหภูมิ  การสัมผัส  การเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิด  การสะท้อนของแสงที่ตกกระทบวัตถุ  ลักษณะการมองเห็นจากแหล่งกำเนิดเสียง  การหักเหแสงเมื่อผ่านตัวกลางโปร่งใสสองชนิด  การเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า  แสงขาว  การเกิดดิน  ชนิดและสมบัติของดินที่ใช้ปลูกพืชในท้องถิ่น  สร้างแบบจำลองระบบสุริยะ
                โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล  บันทึก  จัดกลุ่มข้อมูลและอภิปราย  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
เพื่อให้เกิดคุณลักษณะการเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  คุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่เหมาะสม
               
รหัสตัวชี้วัด
มาตรฐาน  1.1                 ป.4/1      ป.4/2      ป.4/3      ป.4/4     
มาตรฐาน  5.1                 ป.4/1      ป.4/2      ป.4/3      ป.4/4      ป.4/5      ป.4/6
มาตรฐาน  6.1                ป.4/1      ป.4/2     
มาตรฐาน  7.1                 ป.4/1     
มาตรฐาน  8.1                 ป.4/1      ป.4/2      ป.4/3      ป.4/4      ป.4/5      ป.4/6      ป.4/7      ป.4/8     

รวมทั้งหมด   21  ตัวชี้วัด
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน (ระดับประถมศึกษา)

วิชา วิทยาศาสตร์  (ว 15101)                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่  5                                           เวลา    80   ชั่วโมง
                                        
                วิเคราะห์  ส่วนประกอบของดอกและโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืชดอก  การสืบพันธุ์ของพืชดอก  การขยายพันธุ์พืช  วัฏจักรชีวิตของพืชดอกบางชนิด การสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ของสัตว์  วัฏจักรชีวิตของสัตว์บางชนิด ลักษณะของตนเองกับคนในครอบครัว การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในแต่ละรุ่น  พืชดอก  พืชไม่มีดอก  ลักษณะภายนอกของพืชดอกที่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่  ลักษณะภายในและลักษณะภายนอกของสัตว์  สมบัติของวัสดุชนิดต่างๆ  การนำวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวัน  การหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรง  ความดันอากาศ ความดันของของเหลว แรงพยุงของของเหลว การลอยตัว การจมของวัตถุ แรงเสียดทาน  การเกิดเสียงและการเคลื่อนที่ของเสียง  การเกิดเสียงสูง  เสียงต่ำ  เสียงดัง  เสียงค่อย  อันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อฟังเสียงดังมากๆ  การเกิดเมฆ  หมอก  น้ำค้าง  ฝน  ลูกเห็บ  การเกิดวัฏจักรน้ำ  การวัดอุณหภูมิความชื้นและความกดอากาศ  การเกิดลม  การเกิดทิศ  ปรากฏการณ์การขึ้น-ตกของดวงดาว
                โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล  บันทึก  จัดกลุ่มข้อมูลและอภิปราย  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด ความเข้าใจ  สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา 
เพื่อให้เกิดคุณลักษณะเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  คุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่เหมาะสม

รหัสตัวชี้วัด
มาตรฐาน  1.1                  ป.5/1    ป.5/2      ป.5/3      ป.5/4      ป.5/5
มาตรฐาน  1.2                 ป.5/1      ป.5/2      ป.5/3      ป.5/4      ป.5/5
มาตรฐาน  3.1                 ป.5/1      ป.5/2     
มาตรฐาน  4.1                 ป.5/1      ป.5/2      ป.5/3      ป.5/4     
มาตรฐาน  4.2                 ป.5/1     
มาตรฐาน  5.1                 ป.5/1      ป.5/2      ป.5/3      ป.5/4     
มาตรฐาน  6.1                 ป.5/1      ป.5/2      ป.5/3      ป.5/4     
มาตรฐาน  7.1                 ป.5/1     
มาตรฐาน  8.1                 ป.5/1      ป.5/2      ป.5/3      ป.5/4      ป.5/5      ป.5/6      ป.5/7      ป.5/8     

รวมทั้งหมด  34  ตัวชี้วัด
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน (ระดับประถมศึกษา)

วิชา วิทยาศาสตร์  (ว 16101)                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                             เวลา    80   ชั่วโมง

ศึกษา วิเคราะห์  การเจริญเติบโตของมนุษย์จากวัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่  การทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร  ระบบหายใจ  และระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์  สารอาหาร  ความจำเป็นที่ร่างกายต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย  ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่างๆ    ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร  ความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต  ผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  ผลต่อสิ่งมีชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์  แนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น  สมบัติของของแข็ง  ของเหลว  และแก๊ส  จำแนกสารเป็นกลุ่มโดยใช้สถานะหรือเกณฑ์อื่นที่กำหนดเอง  วิธีการแยกสารบางชนิดที่ผสมกัน  ประเภทของสารต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  การเลือกใช้สารแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย  สมบัติของสาร  การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่และมีสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไป  การเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย  ตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า  การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม  การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม  แบบขนาน  การเกิดสนามแม่เหล็กรอบสายไฟที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน  ประเภทของหิน  การเปลี่ยนแปลงของหิน  ธรณีพิบัติภัย  การเกิดฤดู  ข้างขึ้น  ข้างแรม  สุริยุปราคา  จันทรุปราคา  ความก้าวหน้าและประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ
                โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล  บันทึก  จัดกลุ่มข้อมูลและอภิปราย  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา 
เพื่อให้เกิดคุณลักษณะเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  คุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่เหมาะสม

รหัสตัวชี้วัด
มาตรฐาน  1.1                 ป.6/1      ป.6/2      ป.6/3                                                                                
มาตรฐาน  2.1                 ป.6/1      ป.6/2      ป.6/3             
มาตรฐาน  2.2                ป.6/1     ป.6/2     ป.6/3    ป.6/4    ป.6/5   
มาตรฐาน  3.1                 ป.6/1      ป.6/2      ป.6/3      ป.6/4    ป.6/5     
มาตรฐาน  3.2                 ป.6/1      ป.6/2      ป.6/3
มาตรฐาน  5.1                 ป.6/1      ป.6/2      ป.6/3      ป.6/4      ป.6/5      
มาตรฐาน  6.1                 ป.6/1      ป.6/2      ป.6/3     
มาตรฐาน  7.1                 ป.6/1                                            
มาตรฐาน  7.2               ป.6/1
มาตรฐาน  8.1                 ป.6/1      ป.6/2      ป.6/3      ป.6/4      ป.6/5      ป.6/6      ป.6/7      ป.6/8     

รวมทั้งหมด  37   ตัวชี้วัด